พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

พุทธคยา ตั้งอยู่ในอำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดียเป็นหนึ่งในสี่สังเวชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั้งโลก  มีความสำคัญคือเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่ชาวพุทธควรไปสักการะอย่างน้อยซักครั้งหนึ่งในชีวิต

พระเจดีย์มหาโพธิ์ เชื่อว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช แล้วต่อมามีการปฏิสังขรต่อเติมขึ้นมาในอีกหลายยุคหลายสมัยจนมีสภาพอย่างที่เห็นในปัจจุบัน โดยมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมทางพุทธมหายานที่ยิ่งใหญ่ของโลก  ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกเมื่อปี พ.ศ. 2545 

ทางเข้าเจดีย์มหาโพธิ์ พุทธคยา

มหาโพธิวิหาร พุทธคยา

พระพุทธเมตตา พุทธคยา

ต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแท่นวัชรอาสน์

ประวัติของเจดีย์พุทธคยา มีหลักฐานโบราณที่บันทึกไว้โดยหลวงจีนถังซำจั๋งเรียกว่ามหาโพธิวิหาร ตั้งอยู่ทางตะวันออกของต้นโพธิตรัสรู้  มีพระแท่นวัชรอาสน์อยู่ตรงกลาง องค์เจดีย์มีความสูงประมาณ 51 เมตร มีเจดีย์บริวารทั้ง 4 ด้าน มีเสาอโศกที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างไว้เพื่อประกาศเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง  

ในอดีตมหาเจดีย์พุทธคยาเคยทรุดโทรมอย่างมาก เพราะพื้นที่เคยถูกครอบครองโดยผู้ปกครองชาวมุสลิม และต่อมาก็ได้ตกเป็นของนักบวชฮินดูมหาบุตร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2354 พระเจ้ามินดง กษัตริย์พม่าได้ส่งทูตไปเจรจาผ่านอังกฤษเนื่องจากอินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เพื่อขอบูรณะเจดีย์พุทธยาที่ชำรุดอย่างมากขึ้นใหม่ แต่บูรณะไม่ทันเสร็จอังกฤษกับพม่าก็ได้ทำสงครามกันจึงได้ยุติการบูรณะไป 

ในปีพ.ศ. 2433 ซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้เขียนเรื่องประทีปแห่งเอเชีย เนื้อหามีใจความสำคัญระบุว่าพื้นที่พุทธคยาเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ และควรเป็นของชาวพุทธ จึงทำหนังสือขอคืนพื้นที่จากรัฐบาลอังกฤษให้ชาวพุทธดูแล  

ในปีพ.ศ. 2434  ท่านอาจารย์อนาคาริก ธรรมปาละ ผู้แสวงบุญใจสิงห์ชาวลังกา วัย 29 ปีได้เริ่มดำเนินการต่อสู้เพื่อขอคืนพื้นที่โพธิมณฑลให้ชาวพุทธ โดยใช้เวลาในการต่อสู้อย่างยาวนานและยากลำบากจนเกือบถึงชีวิตหลายครั้ง จนถึงปี พ.ศ. 2492 รัฐพิหารจึงได้จัดตั้งกรรมการขึ้นมาดูแลวิหารพุทธคยา ในปี พ.ศ. 2496 มีการเจราจาทางการฑูตระหว่างพม่ากับกลุ่มมหันต์อีกครั้ง จนนักบวชชาวฮินดูกลุ่มมหันต์ได้ยก พุทธคยาให้กับชาวพุทธ

ในปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลอินเดีย โดยนายกรัฐมนตรีเยาวหราล เนรูห์ ได้ฉลองพิธีพุทธยันตีในวันวิสาขบูชาที่พุทธคยา ได้เชิญชวนประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่นับถือพระพุทธศาสนาไปสร้างวัดที่พุทธคยา ในสมัยนั้นรัฐบาลไทยโดย จอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ตอบรับและไปสร้างวัดเป็นชาติแรกในปี พ.ศ. 2500 แล้วประเทศอื่นๆ ก็เริ่มทยอยไปสร้างวัดของแต่ละประเทศในเวลาต่อกันมา และรัฐบาลอินเดียก็ได้มีส่วนสำคัญในการบูรณพุทธคยาอย่างต่อเนื่องจนมีสภาพที่เห็นในปัจจุบัน

สิ่งสำคัญและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุทธควรสักการะในบริเวณมหาโพธิวิหารของพุทธยา 

1 ต้นพระศรีมหาโพธิ์  คือต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าประทับในช่วงวันเวลาที่ตรัสรู้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นปัจจุบันเป็นต้นที่ 4 ที่ปลูกในตำแหน่งเดิม โดยมีลำดับดังนี้

2 พระแท่นวัชรอาสน์  หรือโพธิ์บัลลังก์ อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นสถานที่ประทับในคืนตรัสรู้ ซึ่งพระพุทธองค์องค์ทรงปูลาดด้วยหญ้ากุศะเป็นบัลลังก์ประทับนั่ง และพระองค์ได้ทรงอธิษฐาน ณ อาสนะนี้ ความว่า “หากแม้นเลือดและเนื้อจะเหือดจะแห้งอย่างไร ถ้าไม่บรรลุพระอรหันตสัมมาสัมโพธิญาณแล้วจักไม่เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะนี้” อาสนะนี้จึงได้ชื่อว่า วัชระอาสน์ (วัชระ แปลว่า เพชร, อาสนะ แปลว่า ที่นั่ง)   มีความหมายว่า “พระที่นั่งแห่งมหาบุรุษใจเพชร”  ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างพระแท่นขึ้นมาเพื่อบูชาสถานที่บำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า ตัวแท่นทำจากทองคำมีความยาว 7 ฟุต สลักเป็นรูปเพชร พญาหงส์ และดอกมณฑารพสลับกัน 

3 เจดีย์พุทธคยาหรือพระมหาโพธิ์เจดีย์ คืออนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีลักษณะเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมทรงสูง เป็นสถาปัตยกรรมและศิลปะแบบอินเดีย  บริเวณโดยรอบเจดีย์มีเจดีย์บริวารล้อมทั้ง 4 ทิศ   มีความเป็นมาคือหลังจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้ทรงดำเนินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือต้นโพธิ์ ทรงประทับยืนพิจารณาทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์เพื่อระลึกถึงอดีตที่ทรงชำระกิเลสหมดสิ้นผ่องใสตลอด 7 วัน  ที่ประทับยืนนั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์

4 ภายในวิหารพระมหาโพธิเจดีย์ มีพระพุทธปฏิมากรสำคัญนามว่า พระพุทธเมตตา สร้างด้วยหินแกรนิตสีดำปางมารวิชัยที่งดงามมาก เป็นพระพุทธรูปโบราณมีอายุราว 1300 ปี ตั้งแต่สมัยปาละ  

มีบันทึกของหลวงจีนถังซำจั๋งกล่าวไว้ว่า เมื่อกษัตรย์สาสังการจากเบงกอลได้เข้าไปครอบครองดินแดนแถบนี้ก็ได้ทำลายพระพุทธศาสนาจนย่อยยับโดยสังหารพระภิกษุจนหมดสิ้น แล้วได้ทำการโค่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ด้วย  เมื่อเข้าไปในวิหารได้พบพระพุทธเมตตา  ตอนแรกคิดจะทำลายด้วยตนเอง แต่เมื่อได้เห็นพระพักตร์อันเปี่ยมไปด้วยเมตตาขององค์พระปฏิมากรก็ทำไม่ลงจึงเสด็จกลับ แต่ก็ฉุกคิดว่าถ้าให้พระพุทธรูปยังคงตั้งอยู่ที่วิหารมหาโพธิ์ พวกพุทธศาสนิกก็คงจะหาทางฟื้นศาสนาในภายหลังได้อีก จึงให้นายทหารไปทำลายเสีย แต่นายทหารผู้นั้นเมื่อได้เห็นพระพุทธรูปองค์นี้ก็ทำลายไม่ลง แต่ฉุกคิดได้ว่าถ้าไม่ทำลายก็จะมีโทษแก่ตนเองและครอบครัว  จึงได้ไปตามชาวพุทธมาสร้างกำแพงกั้นไว้ไม่ให้เห็นว่ามีพระพุทธปฏิมากรประทับอยู่  แล้วกลับไปแจ้งกษัตริย์สาสังการว่าได้ทำลายองค์พระไปแล้ว  เมื่อสาสังการทราบก็เกิดความเสียใจและหวาดกลัวจนป่วยตายไปด้วยความทรมานในเวลาไม่นาน เมื่อกษัตริย์สาสังการตาย นายทหารที่รับคำสั่งก็ได้ให้คนไปทำลายกำแพงที่กั้นออก  เผยให้เห็นพระพุทธเมตตาอีกครั้งและคงตั้งประทับอยู่ที่เดิมให้คนไปกราบไหว้เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้ามานานนับพันปี 

5 รัตนจงกรมเจดีย์ เมื่อครั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปบริเวณทิศเหนือของพระศรีมหาโพธิ์ ทรงนิรมิตที่จงกรม ระหว่างโพธิบัลลังก์กับที่ประทับยืนอนิมิสเจดีย์ ทรงเสด็จจงกรมจากทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก เรียกว่า รัตนจงกรมเจดีย์  จะอยู่ด้านข้างของพระมหาเจดีย์ด้านทิศเหนือ มีหินทรายสลักเป็นดอกบัวบาน จำนวน 19 ดอก มีแท่นหิน ทรายแดงยาวประมาณ 6 เมตรเป็นที่วางเครื่องบูชา

ในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของโพธิวิหารพุทธคยา ยังมีอนุสรณ์สถานที่น่าสนใจอีกมากมายที่อยากชวนเชิญชาวพุทธได้ไปสักการะด้วยตนเองเพื่อจะได้รับรู้ถึงพลังแห่งแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ด้วยตนเอง

ขอบคุณคลิปเนื้อหาดีๆ จาก TNN Online หัวข้อ อริยทัศน์อินเดีย ตอน มหาเจดีย์พุทธคยา

กำหนดการเดินทาง  พาไปประเทศอินเดียและเนปาล ระหว่างวันที่ 19-27 พฤศจิกายน 2566 

รายละเอียดกิจกรรม พาเข้าไปสักการะสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน และเข้าชมสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรงอีกมากมาย รวมเดินทาง 9 วัน 8 คืน

ราคาค่าเดินทาง 36,900 บาท ครอบคลุมค่าใช้จ่ายตามโปรแกรมทั้งหมด

หมายเหตุ กิจกรรมนี้เป็นโปรแกรมเน้นการไปแสวงบุญและเรียนรู้พุทธประวัติอย่างแท้จริง การเดินทางเน้นความเป็นกันเองที่สะดวกและสบายรับประทานอาหารไทยเป็นส่วนใหญ่

ติดต่อจองที่นั่งเดินทาง โทร. 084-625-9929 ,0654299049